สื่อคณิตศาสตร์

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9







บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันจันทร์ ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:30-12:30 



เนื้อหาที่เรียน


             เเผนการจัดประสบการณ์ในเเต่ล่ะวัน กับการบรูณาการกับคณิตศาสตร์ หน่วยกล้วย  
ตัวอย่างเเผ่นการจัดประสบการณ์ กับวันศุกร์ การประกอบอาหาร กล้วยบวชี 
    


วัตถุประสงค์   สิ่งที่เด็กจะได้รับจากหน่วยการเรียนนี้และมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เช่น
    - เด็กสามารถบอกอุปกรณ์และวัตถุดิบได้

สาระการเรียนรู้คือ
    - สิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้ในหน่วยนั้นๆ เช่นกล้วยสามารถนำมาทำกล้วยบวชชีเเละอาหารอื่นๆได้อีกเเละวิธีการทำ กล้วยบวชชี

ประสบการณ์ที่สำคัญ 
    - อ้างอิงจากหลักสูตรปฐมวัย 2560 ที่กำหนด ประสบการณ์ที่สำคัญที่เด็กต้องได้จากการจัดประสบการณ์

กิจกรรมการเรียนรู้
 จะมี 3 ขั้น    1.  ขั้นนำนำไปสู่การทำกิจกรรม ครูต้องเเละเด็กต้องทำกิจกรรมก่อนที่จะลงมือทำจริง
กิจกรรมที่สามารถ นำมาบรูณาการได้ เช่น คำคล้องจอง เพลง นิทาน เกม เลือกให้เหมาะสมกับกิจกรรม
                    2.  ขั้นสอนเป็นขั้นที่ครูเเละเด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
                    3.  ขั้นสรุป เป็นขั้นที่ครูเเละเด็กทบทวนในสิ่งปฏิบัติไป

สื่อเเละเเหล่งเรียนรู้ 
    - อุปกรณ์และวัสดุ ที่เด็กมองเห็นได้

การวัดผลเเละการประเมินผล
   - เด็กได้เรียนรู้เเละพัฒนาตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

การบรูณาการ 
  -  เด็กไดเรียนรู้จากหน่วยกล้วยเข้ากับคณิตศาสตร์อย่างไร เช่น รูปร่างรูปทรง


คำศัพท์ 

1. Mathematics      คณิตศาสตร์
2. Activity              กิจกรรม
3. Learn                  เรียนรู้
4. Practice              ปฏิบัติ
5. Review               ทบทวน

การประเมิน
          เนื่องจากเป็นการเรียนออนไลน์ครั้งเเรกซึ่งทำให้รู้สึกว่าการเรียนเเบบนี้ไม่ค่อยจะเข้าใจสักเท่าไรเนื่องจากอินเทอร์เน็ตไม่ค่อยดีสักเท่าไรสัญญาณไม่ค่อยมี เลยทำให้การเรียนติดๆขัดๆ
ประเมินอาจารย์                 อธิบายการจัดประสบการณ์สอนหรือการเขียนแผ่นเเต่ล่ะวันได้เข้าใจค่ะมีถามนักษาเพื่อความเข้าใจ
ประเมินเพื่อน                    ช่วยกันตอบคำถามอาจารย์เหมือนเรียนในห้องเรียน
ประเมินตนเองตนเอง       ตั้งใจเรียนพยายามตั้งใจเพื่อจะจัดทำเเผนงานที่รับมอบหมาย


                                             

เพลง เเมวเมี๊ยว

เพลงเเมวเมี๊ยว 
                              

   นำเสนอบทความ(คลิป)
                                 



เนื้อเพลง 
นั้นเเมวร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว 
เเมวเปอร์เซีย  1 2  3  4  5  
อีกตัวนั้นเดินตรงมา อีกตัวนั้นเดินตรงมา
ร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว หง่าว 6  7  8  9 10 





วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2563

สรุปงานวิจัย


สรุปงานวิจัย





                    งานวิจัย การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้หนัสือนิทาน
               

นาง จำรัส  สังฆบุตร
บัณฑิตวิทยาลัย กำลังศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต ปริญญาตรี เอก การศึกษาปฐมวัย พ.ศ 2560

             บทนำ
คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสําคัญอย่างยิ่งสําหรับการศึกษา
มนุษย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับความคิดกระบวนการและความมีเหตุผล คณิตศาสตร์ฝึกให้เด็กรู้จักคิดอย่างเป็นระบบและมีเหตุผลจะช่วยพัฒนา ผู้เรียนให้มีความละเอียดรอบคอบช่างสังเกตและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีความสามรถในการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆอย่างมี เหตุผล คณิตศาสตร์ สําหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3-5 ปีควรจัดในรูปแบบของกิจกรรมการบูรณาการผ่านการเล่นเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงเกิดความรู้ความเข้าใจมีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์มีกะบวนการแก้ ปัญหาและการใช้เหตุผลรวมทั้งการนําเสนอการสื่อสารการเชื่อมโยง แนวคิดความคิดต่างๆทางคณิตศาสตร์และการคิดสร้างสรรค์โดยเชื่อม โยงจากพื้นฐานทางครอบครัวภาษาวัฒนธรรมและชุมชุนโดยเน้นการ จัดเป็นรายบุคคลกลุ่มย่อยและในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการผ่านการเล่น การสํารวจและการลงมือปฎิบัติจริงและการจัดประสบการณ์ทาง
คณิตศาสตร์ต้องให้ความสําคัญกับการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์สังคมและสติปัญญาไปพร้อมๆกันการจัดกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริม ทักษะทางคณิตศาสตร์การเตรียมความพร้อมและการจัดประสบการณ์ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์จึงมีความสําคัญมากเพราะจะเป็นพื้นฐานทาง ด้านการคิดที่มีเหตุผลการแก้ปัญหาการพัฒนาความคิดรวบยอดทาง คณิตศาสตร์ที่เด็กสามารถนําไปใช้ในชีวิตประจําวันและอนาคต

              วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์สําหรับ เด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมการเล่านิทาน 

2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมการเล่านิทาน


              ขอบเขตด้านตัวแปร

1. กลุ่มเป้าหมาย 

กลุ่มเป้าหมายได้แก่นักเรียนชั้นอนุบาลชายหญิงอายุ 3-4 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตําบลหนองงูเหลือม ตําบล หนองงูเหลือม อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ปีการ ศึกษา 2560 จํานวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) 

2. ตัวแปรที่ศึกษา 

2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมการ เล่านิทาน 
2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สําหรับ เด็กปฐมวัย 
3. เนื้อหา การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลการจัดประสบการณ์ด้านทักษะพื้น ฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานสําหรับเด็กปฐมวัย 
เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยคือหน่วยการเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ด้านการนับปากเปล่า 1-10 และรู้ค่าจํานวน 1-5 ผ่าน นิทานที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้แก่ นิทานการนับ และรู้ค่าจํานวน 1-10 

                         ขอบเขตด้านระยะเวลา

ผู้วิจัยใช้เวลาในการวิจัย 1 สัปดาห์สัปดาห์ละ 5 วันวันละ 20 นาที โดยทดลองในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์เวลาเช้า 10.10-10.30 น. สถานที่วิจัยห้องเรียนชั้นอนุบาล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตําบลหนองงูเหลือม ตําบลหนองงู เหลือม อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา


                         วิธีการดำเนินการวิจัย
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ กิจกรรมการเล่านิทานในครั้งนี้มีวิธีดําเนินการวิจัยดังนี้ 

1.กลุ่มเป้าหมาย

2.แผนแบบการทดลอง

3.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

4.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
5.การดําเนินทดลอง
6.เนื้อหา
7.ระยะเวลาทดลอง
8.การวิเคราะห์ข้อมูล

1.กลุ่มเป้าหมาย 
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลชาย 7คน หญิง 8 คน อายุ 3-4 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตําบลหนองงูเหลือม ตําบลหนองงูเหลือม อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมาปี การศึกษา 2560 จํานวน 15 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง( Purposive sampling ) 
2.แผนแบบการทดลอง 
วิจัยในครั้งนี้ใช้แบบแผนการทดลองที่มีการวัดทั้งก่อนเรียนและ หลังเรียน (Pretest-Posttest Design) (โปรแกรมวิชาการวัดผลการศึกษา. 2552:95) โดยกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการสอนด้วยกิจกรรมการเล่านิทาน ดังแสดงได้ดังนี้ 
O1 X O2 เมื่อ X แทนการสอนด้วย กิจกรรมการเล่านิทาน 
O1 แทนคะแนนทดสอบก่อนเรียน O2 แทน คะแนนทดสอบหลังเรียน 

3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีเครื่องมือ 3 ประเภท ดังนี้ 
1.แผนจัดประสบการณ์การเล่านิทาน 5 แผน 2.แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จํานวน 2 ชุด ชุดละ 5 ข้อ 3.แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัยจํานวน 
2 ข้อ
4.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมการเล่านิทาน ประกอบด้วย นิทานที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ด้านการนับและ รู้ค่าจํานวน รวมใช้นิทานทั้งสิ้น 5 เรื่อง ใช้เวลาเรื่องละ 20นาที ดังนี้ 
1.1 ลักษณะของเครื่องมือ ตารางที่ 4 วิเคราะห์แผนจัดประสบการณ์กิจกรรมการเล่านิทานเพื่อ พัฒนาทักษะพื้นฐาน 
ว/ด/ป จุดประสงค์ กิจกรรม ระยะเวลา นิทาน 
จันทร์ที่ 3 ก.ค. 60 
สามารถนับ10.10-10.3 จํานวน สิ่งของใน นิทานได้ เล่านิทาน ประกอบหุ่น มือ กระต่ายจัด บ้าน 
อังคารที่ 4 ก.ค.60 
สามารถนับ10.10-10.3 จํานวน สิ่งของใน นิทานได้ เล่านิทาน ประกอบหุ่น มือ 

1.2 การสร้างเครื่องมือ 
การสร้างแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเล่านิทานเพื่อพัฒนา ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ด้วย กิจกรรมการเล่านิทานผู้วิจัยได้ดําเนินการตามขั้นตอนดังนี้ 
1.ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหาร ส่วนตําบลหนองงูเหลือม ในเรื่อง สาระการเรียนรู้มาตรฐาน ตัวชี้วัด หน่วยการเรียนรู้ 
2. ศึกษาเอกสารเกี่ยวข้องกับการสอนทักษะพื้นฐานสําหรับเด็ก ปฐมวัย 
พฤหัสบดีที่ 6 
สามารถนับ 10.10-10.3 ก.ค.60 
จํานวน สิ่งของใน นิทานได้ เล่านิทานโดยใช้หนังสือนิทาน ลูกหมูสาม ตัว 
ศุกร์ที่ 7 ก.ค. 60 
สามารถนับ 10.10-10.3 จํานวน สิ่งของใน นิทานได้ เล่านิทาน ปากเปล่า บ้านสามัคคี
3.ศึกษาหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2546 เอกสารหลักสูตร แนวทางการประเมินผลการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน 
4.ศึกษาเอกสารตํารา งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทําแผน กิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ด้วยกิจกรรมการเล่านิทาน 
5.ทดลองเขียนแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเล่านิทานเพื่อ พัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ด้วยการเล่านิทานจํานวน 5 แผนใน แต่ละแผ่นใช้เวลา 20 นาที 
6.นําแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมการเล่านิทานที่สร้างเสร็จ แล้วไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบ ให้ข้อเสนอแนะ 
7.แก้ไขปรับปรุงแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อนําไปทดลอง จริง

ผลวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการใช้นิทานเป็นสื่อใน การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์( ทักษะการนับ) ของเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วน ตําบลหนองงูเหลือม อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ตอนที่ 1 วิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ (ทักษะการนับ) โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทาน ตอนที่ 2 ผลการเปรียบเทียบความสามารถทางทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  (ทักษะการนับ) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรม เล่านิทานระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 








วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563

สรุปบทความ

สรุปบทความ





บทความ เรื่อง "คณิตคิดสนุก"
ที่มา : ขนิษฐา บุนนาค

  คณิตสำหรับเด็ก วิธีง่าย ๆ ให้ลูกเก่งคณิตศาสตร์แบบที่ใครก็ทำได้

   การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้เด็กนั้นผู้ปกครองต้องอาศัยสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและต้องอาศัยการวางแผนและเตรียมการให้ดี เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องจำนวน การนับตัวเลข ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับสูงขึ้นไป
สรุป
 การที่เด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้แบบเข้าใจง่ายผู้ปกครองต้องใช้สื่อที่เป็นทั้งรูปธรรมเเละนามธรรมที่เกี่ยวกับ ปริมาณ จำนวน ตำเเหน่ง มิติหรือเวลา เด็กจะเริ่มเข้าใจในสัญลักษณ์ตังเลขจึงเป็นศัลักษณ์ที่ผู้ปกครองหรือครูต้องพยายมทำให้เด็กเข้าใจเเต่ไม่ใช่ให้เด็กจำเเละนำมาเขียนเราจะใช้วิธีการที่เด็กทำซ้ำๆ


      กิจกรรมที่ส่งเสริมประสบการณ์   
 ผู้ปกครองหรือครูสามารถใช้บัตรภาพจำนวนที่มีตัวเลขกำกับติดบนฝาผนัง ขั้นบันได เมื่อเวลาเด็กก้าวขึ้น ลง บันได เด็กก็จะนับทั้งเเบบเรียงเเละถอยหลังเมื่อเด็กเรียนรู้ ได้เเล้วเราจะต้องเพิ่มความยากขึ้นไปอีก
เด็กก็จะเรียนรู้ในเรื่อง การสังเกต เปรียบเทียบ มากกว่า-น้อยกว่า สั้น-ยาว สูง-ต่ำ ใหญ่-เล็ก หนัก-เบา ลำดับเพิ่ม-ลด ปริมาตรมาก-น้อย ซึ่งเรื่องพวกนี้สามารถอาศัยสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กมาเป็น พื้นฐานในการพัฒนาความรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์


































บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8






บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันจันทร์ ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:30-12:30 



เนื้อหาที่เรียน 

                 เรียนเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้จากสัปดาห์ที่เเล้วนำมา บูรณาการกับสาระคณิตศาสตร์กับหน่วยการเรียนรู้โดยผ่าน 6 กิจกรรมหลักเเละใน 6 กิจกรรมหลังจะต้องจัดการเรียนการสอนทั้ง 5 วัน เเต่ละวันจะสอนเพียง 30 นาที เเละจะต้องมี 
- เนื้อหา 
- สาระทางคณิตศาสตร์
- การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์


ซึ่งกลุ่มดิฉันเป็นหน่วยการเรียนรู้เรื่องกล้วย จะมีองค์ประกอบหลักๆ คือ

- ชนิด
-ลักษณะ
-การดูแลรักษา
-ประโยชน์
-โทษ
หน่วยการเรียนรู้ใน 1 สัปดาห์

วันจัทร์  สอนเกี่ยวกับชนิดของกล้วย
วันอังคาร สอนเกี่ยวกับลักษณะของกล้วย
วันพุธ สอนเกี่ยวกับการดูแลรักษาของกล้วย
วันพฤหัส สอนเกี่นวกับประโชยน์
วันศุกร์ สอนเกี่ยวกับโทษ

                                      ตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนในหน่วยกล้วยกับวันศุกร์
มีหัวข้อดังนี้

    เนื่องจาก โทษและข้อระวังมีน้อย วันศุกร์เลยปรับเปลี่ยนให้เด็กได้มีการลงมือทำผ่านกิจกรรมที่ถูกสำรวจ
    เนื่อหา วัตถุดิบ     ▹เกลือ 1 ช้อนชา
                              ▹กล้วย 10 ลูก
                              ▹น้ำตาลปึก 1 ถ้วย
                              หัวกะทิ  1 ถ้วย
                              หางกะทิ  1 ถ้วย 
               อุปกรณ์    ▹หม้อ
                              ▹ช้อน 
                              ▹จาน ถ้วย
   การจัดประสบการณ์    
           การจัดประสบการณ์   
                 ▹ครูอธิบายขั้นตอนการทำกล้วยบวชชี
                 ▹ครูแจกวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆกับเด็ก
                 ▹ครูกับเด็กช่วยกันลงมือทำ
         ขั้นตอนการทำ
                 ▹นำมีดกรีดเปลือกกล้วยเป็นเเนวยาวนำใส่ในหม้อเมื่อเปลือกกล้วยเเตกให้เเกะเปลือกออก
                 ▹ตัดกล้วยเป็น 4 ชิ้นพักไว้ใส่น้ำกะทิ หัวกะทิ น้ำตาลปึก เกลือลงไปจนละลาย
                 ▹นำมาพักไฟอ่อนๆเเละปิดไฟ
                 ▹ใส่หางกะทิลงไป
                 ▹นำมารับประทาน
   สาระคณิตศาสตร์
                 ▹เด็กได้นับจำนวนของวัตถุดิบ
                 ▹รู้ปริมาณวัตถุดิบกล้วยบวชชี
                 ▹รูปทรงของอุปกรณ์
                 ▹ลำดับขั้นตอนการทำ
   คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
                                 1.Raw material  วัตถุดิบ
                                 2.Equipment      อุปกรณ์
                                 3.Mathematics   คณิตศาสตร์
                                 4.Caution            ข้อระวัง
                                 5.Equipment อุปกรณ์
การประเมิน

ประเมินอาจารย์ อธิบายรายละเอียดเเต่ล่ะวันเเต่ล่ะหน่วยการเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจ
ประเมินพื่อน ช่วยกันคิดปรึกษาหาข้อบกพร่องในตัวหน่วยการเรียนรู้ได้อย่างดี
ประเมินตนเอง ตั้งใจทำแต่ทำอย่างเต็มที่พร้อมรับข้อผิดพราดและนำมาเเก้ไขให้ถูก

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7






บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 
วันจันทร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เวลา 08:30-12:30 



เนื้อหาที่เรียน 

           กิจกรรมวันนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ซึ้งอาจารย์ให้ออกแบบ หน่วยการเรียนรู้ของตัวเองในหน่วยต่างๆเป็นการบรูณาการในางคคณิตเข้าดด้วยกัน เช่น หน่วยผีเสื้อ หน่วยส้ม หน่วยกล้วย หน่วยมะเขื้อเทศ เเละให้เเยกองค์กอบเป็นผังความรู้ และหลังจากได้เลือกหน่วยการเรียนรู้อาจารย์ให้เเบ่งกลุ่มเเบ่งเป็นกลุ่ม 3 คนเพื่อช่วยกันคิดหน่วยการเรียนรู้เเตกเป็นหัวข้อต่างๆ ซึ้ง หน่วยการเรียนรู้ของกลุ่มดิฉันได้เลือกหน่วย  มด  ก็จะเเตกเป็นไปตามหัวข้อ ดั้งนี้ 

                          สายพันธ์ ลักษณะของมด การดำรงชีวิต ประโยชน์  โทษของมด 



หลักจากนั้น อาจารย์ให้จับกลุ่มเป็น 5 คน เเละให้เลือกเพียง 1 หน่วยการเรียนรู้  เเละให้นำหน่วยการเรียนรู้นั้นๆมาเเปลจากเพลงเดิมที่กำหนด เพลงที่ให้เเปลจากเดิมมาบรูณาการในหน่วยของตนเอง
1.  เท่ากัน ไม่เท่ากัน
2.  บวก ลบ
3.  เเตงโม 5 ผล
4.  นกกระจิบ 
 ซึ่งหน่วยการเรียนรู้ที่เลือกมาคือ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กล้วย เเละเเตกองค์ประกอบดั้งนี้




คำศัพท์
1 Learning     หน่วยการเรียนรู้
2 Benefit        ประโยชน์
3 Look           ลักษณะ
4 Integration  บรูณาการ
5 Mimd map  แผนผัง/ผังความคิด


ประเมินอาจารย์    อาจารย์อธิบายให้คำเเนะนำในเรื่องเล็กๆน้อยได้ละเอียด
ประเมินเพื่อน       เพื่อนๆตั้งใจในการทำหน่อยเเละช่วยกันคิดเป็นอย่างดี
ประเมินตนเอง     ตั้งใจเเละช่วยกันคิดเป็นกลุ่มอย่างดี